หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

 

 1. หุ่นยนต์ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

        SMR (Smart Mobility Robot) คือหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติที่ใช้ Sensor และ Processor เพื่อเคลื่อนย้ายวัตถุได้อย่างอิสระ สามารถจดจำตำแหน่ง และวางแผนเส้นทางแบบ Real-Time ด้วยการใช้ระบบ Advanced Driver – Assistance Systems(ADAS) เป็นตัวช่วยในการเคลื่อนที่ และโปรแกรม Fleet Management ที่ตอบโจทย์รูปแบบการทำงานอย่างหลากหลาย

        เราจึงออกแบบหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติรุ่น SMR300 ภายใต้แนวคิด SEE (Safety, Easy, Economic)  ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจต่าง ๆ ทำงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และประหยัดพลังงาน สามารถใช้งานได้หลากหลายอุตสาหกรรม ทำให้การทำงานของคุณมีความยืดหยุ่น ปลอดภัย และประสิทธิภาพในการผลิตอย่างแท้จริง



https://automation-pro.com/smr-smart-mobility-robot/




2. หุ่นยนต์ประกอบชิ้นงานหรือชิ้นส่วน รถยนต์
หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานใน การผลิตรถยนต์

        แม้อุตสาหกรรมรถยนต์จะมีความเป็นอัตโนมัติสูง แต่ก็ยังมีโอกาสในการเติบโตได้อีกมาก และหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานกำลังทำหน้าที่ขับเคลื่อนประสิทธิภาพรูปแบบใหม่ภายในอุตสาหกรรมด้วยการใช้งานต่างๆ เช่น การป้อนงานให้เครื่องจักร การตรวจสอบ และการประกอบชิ้นส่วนในระบบขับเคลื่อน อิเล็กทรอนิกส์ และการตกแต่งภายใน

        สำหรับ OEM ระดับ Tier 1 ไปจนถึงผู้รับเหมาตลอดห่วงโซ่อุปทาน โคบอทที่มีความยืดหยุ่นและคุ้มค่าได้ช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตและความสม่ำเสมอให้กับส่วนประกอบย่อย เกณฑ์การวัด และระบบการทำงาน โคบอทที่ปรับใช้และติดตั้งใหม่ได้ง่ายสามารถตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมในการผลิตสินค้าตามความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

        โคบอทสามารถทำงานเคียงข้างมนุษย์ ช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตและความสม่ำเสมอ ทั้งยังช่วยให้พนักงานทำงานในกระบวนการต่างๆ ในสายการผลิตได้มากขึ้นในพื้นที่การทำงานเดียวกัน ในขณะที่ระบบอัตโนมัติแบบดั้งเดิมนั้นทำให้คุณต้องเลือกระหว่างใช้ระบบอัตโนมัติทั้งหมดหรือไม่ใช้เลย โคบอทกลับช่วยให้ผู้ผลิตเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตโนมัติได้ในบางหน้าที่และยังคืนทุนได้เร็วอีกด้วย




https://www.youtube.com/watch?v=nHVrnRkeyAY




3. หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด

 สำหรับจุดเด่นของหุ่นยนต์ที่ทีมนักวิจัยได้สร้างขึ้น คือ การใช้อุปกรณ์ที่มีในประเทศ ทำให้สะดวกต่อการบำรุงดูแลรักษารวมทั้งแก้ปัญหาเองได้ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ  หากหุ่นยนต์โดนระเบิดทำลายหรือได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติงาน สามารถนำกลับมาเพื่อประกอบใหม่ใช้งานรวมทั้งราคาถูกกว่าหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดที่นำเข้าจากต่างประเทศ  

             หลังจากนำไปให้ผู้ปฏบัติงานได้ทดลองใช้งานจริงอย่างไม่เป็นทางการเพื่อการปรับปรุงให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้งานไปแล้ว  และได้มีพิธีมอบหุ่นยนต์ชุดแรกอย่างเป็นทางการให้กับ ศูนย์ข่าวกรองประจำพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้   เมื่อ   13 มกราคม 2552 ผลการใช้งานได้มีการติดต่อประสานกันอยู่ตลอดเวลาระหว่างคณะวิจัยฯและผู้ปฏิบัติงาน เพื่อหาข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงหุ่นยนต์ให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานให้ดียิ่งขึ้น

           ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2553 ณ ห้องประชุม 9 ตึก 50ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีพิธีมอบเงินบริจาค จาก บริษัทลักกี้เฟลม จก. จำนวน 200,000 บาท เพื่อสร้างหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดจำนวน 1 ตัว และมีพิธีมอบให้ กลุ่มงานเก็บกู้และตรวจพิสูจน์วัตถุระเบิด กองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อการนำไปใช้งานต่อไป

                           


https://www.youtube.com/watch?v=CIoRFtCU_nM





4. หุ่นยนต์อัจฉริยะ

         หุ่นยนต์สำหรับการผลิตอัจฉริยะ (Smart Manufacturing) ตามนโยบาย Industry 4.0 ปัจจุบันหุ่นยนต์ได้พัฒนาด้วยเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยทั่วโลกให้ความสนใจกับการพัฒนาของหุ่นยนต์ เพราะหุ่นยนต์เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันในหลาย ๆ ด้าน เช่น ในด้านอุตสาหกรรมด้านการผลิต ด้านการแพทย์ การสำรวจอวกาศ หรือแม้แต่การสร้างหุ่นยนต์เพื่อช่วยทำงานบ้านและเป็นเพื่อนกับมนุษย์ ด้วยวิวัฒนาการที่ก้าวหน้าในปัจจุบันทำให้สามารถพัฒนาหุ่นยนต์มีรูปร่างหน้าตาเหมือนมนุษย์มากเพื่อให้อาศัย และสามารถพูดคุยเป็นเพื่อนกับมนุษย์ได้

        หุ่นยนต์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน คือ (1) หุ่นยนต์ชนิดที่ติดตั้งอยู่กับที่ (fixed robot) เป็นหุ่นยนต์ที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนได้ด้วยตัวเอง มีลักษณะเป็นแขนกล (Robotic arms) ที่สามารถขยับและเคลื่อนไหวได้เฉพาะแต่ละข้อต่อมักใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ (2) หุ่นยนต์ชนิดที่เคลื่อนที่ได้ (mobile robot) เป็นหุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเองโดยการใช้ล้อหรือขา ซึ่งปัจจุบันยังมีการทำวิจัยและพัฒนาเพื่อใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ


https://www.youtube.com/watch?v=oDeQCIkrLvc


 






 

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม